ยาสมุนไพรต้มกับเหล้า (29/8/62)

180 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ยาสมุนไพรต้มกับเหล้า (29/8/62)

:: [คำถาม] ::
ยาสมุนไพรที่มาจากรากไม้แล้วนำไปต้มกับเหล้าสามารถนำมาทานได้หรือไม่
.
:: [คำตอบ] ::
มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ
.
ไม่อนุญาตให้ผลิตยาด้วยวิธีนี้ เพราะเกี่ยวข้องกับการใช้เหล้าหรือแอลกอฮอล์ และอัลลอฮฺทรงห้ามเรามิให้ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งมึนเมา ดังที่พระองค์ตรัสไว้มีความหมายว่า
.
“ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! ที่จริงสุราและการพนันและแท่นหินสำหรับเชือดสัตว์บูชายัญ และการเสี่ยงติ้วนั้นเป็นสิ่งโสมมอันเกิดจากการกระทำของชัยฏอน ดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลจากมันเสียเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ” [อัลมาอิดะฮ์ 5:90]
.
ท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ห้ามทำยาจากเหล้าและท่านกล่าวว่าเหล้านั้นคือโรคไม่ใช่ยาบำบัด
.
ในบันทึกของมุสลิม(1984)เล่าว่า ฏอริก อิบนุสุวัยด์ อัลญุอฺฟีย์(ขออัลลอฮฺทรงพึงพอใจท่าน)ถามท่านศาสนทูต(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)เกี่ยวกับเหล้า ท่านศาสนทูตได้ห้ามเขาหรือห้ามไม่ให้ผลิต เขากล่าวว่า “แต่ฉันผลิตมาเพื่อเป็นยารักษา” ท่านนบีตอบว่า “แท้จริง มันไม่ใช่ยา แต่มันคือโรค”
.
อิมามนะวะวีย์(ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่าน)กล่าวว่า
นี่แสดงให้เห็นว่าห้ามไม่ให้เก็บเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเหล้าไว้แล้วรอเพื่อให้ได้น้ำส้มสายชูและยังเป็นคำพูดที่ชัดเจนว่าเหล้าไม่ใช่ยารักษาและห้ามไม่ให้นำไปใช้เพื่อจุดประสงค์ทางการแพทย์
.
แต่หาก ยาที่ผลิตในรูปแบบที่ต้องห้ามนี้ อนุญาตให้ไช้ได้หากแอลกอฮอล์ได้ชึมสลายเข้าไปในตัวยาโดยไม่เหลือร่องรอยทิ้งไว้ไม่ว่าจะเป็นสี รสชาติและกลิ่น แต่หากยังมีร่องรอยตกค้างอยู่ ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ เพราะการใช้หรือดื่มกินก็เปรียบเสมือนการดื่มเหล้านั่นเอง
.
อัลบะฮูตี(ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่าน)กล่าวว่า หากเหล้าผสมกับน้ำและถูกดูดซึมเข้าไปในนั้นแล้วเขาก็ดื่มมัน จะไม่มีการลงโทษเขา เพราะเมื่อมันซึมสลายไปกับน้ำ มันไม่ทำให้ธรรมชาติหรือคุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนไป (กัชชาฟ อัลกินาอ์ 6/118)
.
ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมิยะฮ์(ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่าน)กล่าวว่า
หากเหล้าหกหล่นในน้ำแล้วละลายไป ต่อมามีคนไปดื่มน้ำนั้น ดังนั้นไม่ถือว่าเขาดื่มเหล้าและจะไม่มีการลงโทษเขาด้วยเหตุผลของการดื่มเหล้า หากว่าน้ำยังคงมี รสชาติ สีและกลิ่นเหมือนเดิม หากนมของหญิงสาวคนหนึ่งไหลลงน้ำแล้วละลายไปจนไม่เหลือร่องรอยทิ่งไว้ แล้วเด็กนำไปดื่มน้ำนั้น ถือว่าเด็กทารกชายคนนั้นจะไม่กลายเป็นบุตรของนางผ่านการดื่มนม (มัจญมูอ์ อัลฟะตาวา 21/33)
.
คณะกรรมการถาวรเพื่อการวินิจฉัยปัญหากล่าวว่า
ไม่อนุญาตให้นำแอลกอฮอล์หรือเหล้าใส่ผสมกับยา แต่หากมีการผสมด้วยแอลกอฮอล์ถือว่าอนุญาตให้นำไปใช้ได้หากอัตราส่วนแอลกอฮอล์ต่ำและร่องรอยของมันในตัวยาได้สลายไปแล้วไม่ว่าจะเป็น สี รสชาติหรือกลิ่น มิเช่นนี้แล้วไม่อนุญาตหากนำไปใช้ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใดก็ตามหากมีการผสมกับแอลกอฮอล์ (ฟัตวา อัลลัจญนะฮ์ อัดดาอิมะฮ์ 25/39)
.
ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมิยะฮฺ (ขออัลลอฮฺทรงเมตตาท่าน)กล่าวว่า
แอลกอฮอล์ถือว่าเป็นน้ำเมาตามที่รู้กันดี ดังนั้นมันจึงเป้นเหล้า(อัลค็อมร์) เนื่องจากท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)กล่าวว่า “ทุกสิ่งที่ทำให้มึนเมานั้นหะรอม” ในบางรายงานกล่าวว่า “ทุก ๆ สิ่งที่ทำให้มึนนับเป็นเหล้า(ค็อมร์)”
.
จากที่กล่าวมา หากแอลกอฮอล์ไปผสมกับบางอย่างและไม่ได้ซึมสลายไปในนั้น ดังนั้นส่วนผสมดังกล่าวเป็นสิ่งต้องห้าม เนื่องจากมันยังปรากฏร่องรอยของแอลกอฮอล์อยู่ แต่หากแอลกอฮอล์ได้ซึมสลายในส่วนผสมและไม่เหลือร่องรอยใดๆ ดั้งนั้นมันย่อมไม่หะรอม (ฟัตวา นูร อะลาอัดดัรบ์ 122/21)
.
ท่านยังกล่าวด้วยว่า
ในส่วนของการผสมกันระหว่างยากับแอลกอฮอล์จำนวนเล็กน้อย ไม่จำเป็นว่าจะต้องหะรอมเสมอไป หากแอลกอฮอล์ที่ผสมมีน้อยมากและไม่เหลือร่องรอยทิ้งไว้ในยาที่เกิดการผสม (มัจญมูอ์ ฟะตาวา วะเราะสาอิล อิบนุอุษัยมัน 11/193)
.
และอัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่ง
.
………………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ที่มา: Islamqa.Info

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้