การปลูกถ่ายอวัยวะจากสุกรสู่คน ความท้าทายสำหรับโลกฮาลาล

217 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การปลูกถ่ายอวัยวะจากสุกรสู่คน ความท้าทายสำหรับโลกฮาลาล

เภสัชกร  รศ.ดร. เอกรินทร์  สายฟ้า
รองผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จากการอภิปรายหัวข้อ ความท้าทายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ฮาลาล กับ วิทยาศาสตร์หะรอม
ในงาน WHASIB 2009  
วารสาร HALAL insight issue 07. january-March 2009

         ในปัจจุบัน วิทยาศาสตร์สุกรได้รับการพัฒนาไปมาก สุกรถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์และนวัตกรรมเทคโยโลยีต่างๆ เช่น ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะต่างสายพันธุ์ (xenotransplantation)เป็นต้น การปลูกถ่ายอวัยวะต่างสายพันธุ์คือการปลูกถ่ายเซลล์เนื้อเยื่อ หรือวัยวะที่มีชีวิต จากสายพันธุ์หนึ่งไปสู่อีกสายพันธุ์หนึ่ง

         กล่าวถึงความขาดแคลนด้านการปลูกถ่ายอวัยวะ เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกาเพียงแห่งเดียวมีผู้ป่วยที่มีรายชื่อรอการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะต้องเสียชีวิต 10 คน/วัน ดังนั้นการปลูกถ่ายอวัยวะต่างสายพันธุ์จึงเป็นข่าวดีสำหรับผู้ป่วยซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับอวัยวะในระยะสุดท้าย ในบรรดาสัตว์ที่ทำการทดลองการปลูกถ่ายอวัยวะต่างสายพันธุ์ พบว่าสุกรที่ปราศจากโรคคือสายพันธุ์ที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากสุกรสามารถขยายพันธุ์ได้เร็ว มีจำนวนการตกลูกต่อครอกสูง อวัยวะของสุกรมีขนาดและคล้ายคลึงกับอวัยวะของมนุษย์ และสามารถนำอวัยวะของสุกรไปจัดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมเพื่อลดความเสี่ยงในการต่อต้านอวัยวะได้อีกด้วย

         โดยทั่วไป อวัยวะของสุกรที่ใช้ในการปลูกถ่ายต่างสายพันธุ์ ได้แก่ ตับ ไต เซลล์สมอง หัวใจ และลิ้นหัวใจซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมาก 

         วิทยาศาสตร์สุกรสร้างความท้าทายให้แก่นักวิทยาศาสตร์มุสลิมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมุสลิมจะยอมรับใช้อวัยวะของสุกรก็ต่อเมื่อไม่มีทางเลือกอื่นๆ แล้วเท่านั้น ทั้งนี้ ดร.เอกรินทร์ ได้แนะนำมุสลิมว่าควรเสาะหาทางเลือกอื่นๆ ซึ่งเป็นที่ยอมรับตามหลักศาสนาอิสลามก่อน ต่เมื่อไม่มีแล้วจึงค่อยยินยอมใช้อวัยวะสุกรเป็นทางเลือกสุดท้าย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้