เราะมะฎอนช่วงเวลาแห่งการลดน้ำหนัก (หรือเพิ่ม)? ตอนที่ 1.

153 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เราะมะฎอนช่วงเวลาแห่งการลดน้ำหนัก (หรือเพิ่ม)? ตอนที่ 1.

ท่านนบี มุฮัมมัด ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า “พวกท่านทั้งหลายจงถือศีลอด แล้วท่านทั้งหลายจะมีสุขภาพดี”
.
น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอาจถูกมองว่าเป็นโรคอย่างหนึ่งก็ย่อมได้ อย่างไรก็ตามการลดน้ำหนักในระหว่างการถือศีลอดของเดือนเราะมะฎอนนั้นจะต้องกระทำอย่างระมัดระวัง มีหะดีษจำนวนมากได้ให้คำแนะนำกับเราว่าจะรับประทานอาหารเพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพดีได้อย่างไรในช่วงถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน
.
อย่างไรก็ตาม คมเรามักจะลืมนิสัยการกินอาหารที่ถูกสุขลักษณะในช่วงเดือนเราะมะฎอน จนมีคำเหน็บแนมว่า “เดือนเราะมะฎอนมีกับดักอาหารมากกว่าเดือนอื่นๆ”
.
ดังนั้น ในขณะที่เราต่อสู้ดิ้นรนเพื่อการถือศีลอดและการเป็นมุสลิมที่ดี เราอาจจะหลงจากแนวทางของท่านนบี มุฮัมมัด ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม โดยการทำลายกฎเกณฑ์ในเรื่องการมีสุขภาพดีโดยไม่รู้ตัวก็เป็นได้
.
“หลุมพรางแห่งเดือนเราะมะฎอน” ที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด คือการรับประทานอิฟฏ็อร (อาหารละศีลด) ที่มากทันทีหลังจากอะซานมัฆริบ (การเชิญชวนสู่การละหมาดช่วงเวลาพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า) การรับประทานอาหารที่ไม่เหมือนเดิม แปลกใหม่ อาหารที่เค็มจัด อาหารที่หวานจัด การบริโภคชาหรือกาแฟที่เพิ่มมากขึ้น การนอนไม่เพียงพอ อาหารไม่ครบมื้อ การรับประทานขนมปังหรืออาหารอื่นที่มากจนเกินไป การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและการงดออกกำลังกาย
.
การรับประทานอาหารละศีลอดจำนวนมากทันทีหลังจากเสียงอะซานนั้นเป็นเรื่องที่หะดีษเองมิได้ส่งเสริม การไหลทะลักของอาหารอย่างมากมายที่บริโภคหลังจากถือศีลอดทั้งวันนั้นอาจทำให้ระบบย่อยอาหารแน่นเฟ้อขึ้นมากได้ ..
.
ด้วยเหตุนี้จึงขอแนะนำให้มุสลิมละศีลอดของพวกเขาด้วยอินทผลัมและน้ำ หรือจะเป็นน้ำซุปง่าย ๆ แล้วละหมาดมัฆริบ จากนั้นค่อยรับประทานอาหารละศีลอดในจำนวนพอดีๆ
.
หลังจากละหมาดตะรอวีหฺอาจควรทานอาหารมื้อเบา ๆ อีกหนึ่งมื้อ
การรับประทานอาหารละศีลอดเกินความพอดีนั้นจะก่อให้เกิดปัญหา เนื่องจากมันอาจกลายเป็นอาหารที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย (Trigger foods)
.
Trigger foods (อาหารที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย) คืออาหารที่ทำให้คนกระหายมากขึ้นและต้องการอาหารซ้ำ ๆ เดิม ๆ น้ำตาลเป็นหนึ่งในกลุ่มอาหาร “Trigger foods” อันเป็นที่ชื่นชอบ
.
สิ่งที่ตรงข้ามกับ “Trigger foods” (อาหารที่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย) คืออาหารแบบ “Ideal foods” (อาหารที่ถูกสุขลักษณะ)
ท่านสามารถขจัด trigger foods โดยการคอยสังเกตหรือการบำบัดทางธรรมชาติ (ไม่ว่า ดีท็อกซ์ อโรมา-เธอราปี โยคะ สมุนไพร) แต่ละคนควรรู้ว่าพวกเขาแพ้อาหารอะไร อาหารไหนที่เป็น “trigger foods” และอาหารไหนเป็น “Ideal foods” 
.
การรับประทานมากเกินไปนั้นเป็นปัญหาอย่างยิ่งต่อการลดน้ำหนักในช่วงเราะมะฎอน อัลกุรอานระบุเรื่องนี้ว่า “พวกเจ้าจงกินจากสิ่งที่ดีทั้งหลาย ที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า และพวกเจ้าอย่าได้ฝ่าฝืน ... ” สูเราะฮฺ ฏอฮา อายะฮฺที่ 81
.
หลายคนไม่ตระหนักว่าพวกเขากำลังรับประทานอาหารมากขึ้นเนื่องจากพวกเขาไม่พยายามเลยอย่างไรก็ตามโปรดจำไว้ว่าในช่วงที่เหลือของปี ผู้คนรับประทานอาหารเช้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพราะต้องรีบไปทำงานหรือโรงเรียนแล้วทานอาหารกลางวันมื้อเล็กน้อยแต่มื้อเย็นกลับกินอย่างหนัก จากนั้นพวกเขาก็นอนหลับ
.
ในบางวัฒนธรรมพวกเขารับประทานอาหารกลางวันเป็นมื้อหนักและจากนั้นรับประทานอาหารค่ำมื้อเบา ๆ แต่อย่างไรก็ตาม ในเดือนเราะมะฎอน การละศีลอดนั้นมีแนวโน้มว่าจะรับประทานอาหารหนักแล้วรับประทานต่อเนื่องจนไปถึงกลางดึกพร้อม ๆ กับครอบครัวและมิตรสหาย
.
การรับประทานอาหารสะฮูรนั้นมักเป็นมื้อหนักเช่นเดียวกัน ซึ่งในเวลานี้มันจะช่วยควบคุมในการกินแต่ละวันเพื่อ “ตรวจสอบตามสภาพที่เป็นจริง”
การรับประทานอาหารรูปแบบใหม่ ๆ หรืออาหารแปลก ๆ เป็นปัญหากับการลดน้ำหนักในช่วงเดือนเราะมะฎอนด้วยเช่นกัน
.
ในความเป็นจริง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิตอาจทำให้เกิดความเครียดและมีส่วนทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น
.
ความเครียดอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นในคนที่มี่ความไวต่อความเครียด
หากท่านเป็นคนที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงแต่ชอบให้ความสำคัญกับเรื่องที่ว่า “ทุกสิ่งย่อมมีที่ทางของมันและทุกสิ่งนั้นอยู่ที่ทางของมัน” หรือท่านเป็นคนที่มีความสุขมากที่สุดกับการอยู่ในบ้าน ท่านอาจจะเป็นคนที่ไม่สามารถรับมือกับความเครียดอันเกิดจากการเปลี่ยนได้เป็นดีนัก
.
ท่านกินอะไร
.
วิตามินบีรวมสามารถช่วยให้คนรับมือกับความเครียดได้ นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรอีกหลายชนิดที่สามารถช่วยลดความตึงเครียดลงได้
.
การรับประทานอาหารแบบใหม่ ๆ ยังเพิ่มความเสี่ยงที่อาจทำให้ท่านแพ้อาหารบางอย่างที่รับประทานเข้าไป ท่านนบี มุฮัมมัด ศ็อลลัลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า "ท้องเป็นสระน้ำของร่างกายและหลอดเลือดได้นำไปสู่มัน (ร่างกาย) เมื่อกระเพาะอาหารมีสุขภาพดี หลอดเลือดดำจะถ่ายโอนความมีสุขภาพดีจากมันด้วย เมื่อกระเพาะอาหารป่วย หลอดเลือดดำจะถ่ายโอนความป่วยนั้นด้วย"
.
อาหารที่ท่านแพ้อาจทำให้กระเพาะอาหารของท่านเจ็บป่วยได้ส่งผลให้เกิดอาการหอบหืด ลมพิษ และน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ขณะนี้มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่าอาการแพ้หรือการตอบสนองไวต่ออาหารอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น
.
หลายคนมีน้ำหนักลดลงไปอย่างน่าใจหาย เมื่อพบว่าคนเองมีอาการภูมิแพ้จนทำให้งดอาหารเหล่านั้นไป อาหารที่ก่อภูมิแพ้ที่พบโดยทั่วไปได้แก่ ไข่ ถั่วลิสง นม ข้าวสาลี ถั่วเหลืองและอื่น ๆ อีกหลายชนิด
.
ประเภทของอาหารที่ท่านเลือกกินในช่วงเดือนเราะมะฎอนอาจทำลายความพยายามในการลดน้ำหนักของท่านได้ หากว่าท่านกินอาหารที่เค็มเกินไปร่างกายของท่านจะเก็บน้ำไว้และทำให้ท้องอืด
.
ในขณะเดียวกัน การขาดน้ำอาจทำให้ร่างกายสะสมสารพิษและไขมันอื่น ๆ ได้ง่ายกว่าเนื่องจากไม่มีของเหลวเพียงพอที่จะชะล้างสารพิษออกจากร่างกาย
.
…………………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ข้อมูลจาก aboutislam.net

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้