การใช้สารกระตุ้นหรือยาโด๊ปในการแข่งขันกีฬา

181 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การใช้สารกระตุ้นหรือยาโด๊ปในการแข่งขันกีฬา

:: [คำถาม] ::
.
การชื้อขายตลอดจนการใช้สารกระตุ้นหรือยาโด๊ป (performance-enhancing drugs)ในการแข่งขันกีฬานั้นหลักการอิสลามกล่าวไว้อย่างไร มีบางคนบอกกับข้าพเจ้าว่ามันไม่หะรอมเพราะมันไม่ใช่ยาเสพติดตามท้องถนน ตราบใดที่มันไม่เป็นอันตรายย่อมไม่มีความผิดใด ๆ ที่จะใช้มัน ในความเป็นจริงแพทย์ได้บอกกับข้าพเจ้าว่า ไม่ผิดอะไรที่จะใช้มัน เพราะมันไม่ได้ส่งผลร้ายต่อร่างกายแต่อย่างใด ตราบใดที่ใช้ไม่เกิน 20 มิลลิกรับ อิสลามมีมุมมองเรื้องนี้อย่างไรบ้าง 
.
:: [คำตอบ] ::
.
มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ 
.
ประการแรก: อันตรายของสารกระตุ้นที่ใช้ในการแข่งขันกีฬา 
สารกระตุ้นเป็นสิ่งต้องห้ามในโลกกีฬา ซึ่งครอบคลุมสารทุกชนิดที่ยกระดับสมรรถนะในการแข่งขันด้วยวิธีการที่ไม่เป็นธรรมชาติและทำให้ชนะในการแข่งขันโดยขาดความยุติธรรม คำว่าสารกระตุ้นครอบคลุมทั้งยาที่ผลิตโดยบริษัทยา หรือสารจากธรรมชาติที่เพิ่มสมรรถนะของร่างกายอย่างผิดธรรมดา และยานี้มีผลข้างเคียงเช่นกับยาหลาย ๆ ชนิด
.
คณะกรรมการโอลิมปิกสากล(IOC)ได้แบ่งสารต้องห้ามหรือยาโด๊ปที่ใช้ในการแข่งขันกีฬาดังนี้ 
1. ยากระตุ้นประสาท Stimulants affecting the nervous system
2. ยากดประสาทDepressants affecting the nervous system
3. ฮอร์ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานMetabolic hormones
4. ยาเพิ่มการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ vasoactive drugs 
5. ยาขับปัสสาวะ Diuretics
6. ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโต Growth hormone 
7. คอร์ติโซน Cortisone 
.
จากการวิจัยทางการแพทย์ได้พิสูจน์แล้วว่าการใช้ยาโด๊ป ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บป่วยทางจิตเช่น อารมณ์แปรปรวน โรคซึมเศร้า พฤติกรรมก้าวร้าว ความเจ็บป่วยทางจิต วิกลจริตเป็นต้น อีกทั้งยังทำให้เจ็บป่วยทางร่างกายและโรคหัวใจ โรคไต มะเร็งต่อมลูกหมาก เพิ่มโอกาสการเป็นหมันและภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล 
.
ความเสียหายที่ส่งผลกับร่างกายได้รับการยืนยันจากการวิจัยทางการแพทย์ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าการใช้ยาโด๊ปอาจทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้
1. การเสพติด (Addiction)
2. ภาวะซึมเศร้า (Depression)
3. โรคตับอักเสบ (Hepatitis)
4. โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Gastritis leading to stomach ulcers)
5. การเจ็บป่วยทางจิต (Various mental illnesses)
6. นอนไม่หลับและอาการประสาทหลอน (Insomnia and hallucinations)
7. ท้องร่วงและคลื่นไส้ (Diarrhea and nausea)
8. โรคความผิดปกติในการทรงตัว (Balance disorders) 
9. โรคปอดและหัวใจ (Lung and heart disease)
10. เบื่ออาหาร (Loss of appetite)
11. กล้ามเนื้อลีบ (Muscular atrophy)
12. น้ำมูกน้ำตาไหล Increased production of tears and nasal mucus
13. ผิวหนังเป็นผื่น Skin rashes
14. อัตราการหายใจที่ลดลงจนอาจทำให้เสียชีวิตได้ Slowed breathing rate leading to death
15. โรคไต Kidney disease
16. มะเร็งต่อมลูกหมาก Tumors in the prostate
17. การมีลักษณะทางกายภาพของเพศชายในผู้หญิงมากขึ้น Development of male physical characteristics in females
18. การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ Impotence or sterility as a result of using testosterone (male hormone) 
.
ประการที่สอง : กฎเกณฑ์การใช้สารกระตุ้นหรือยาโด๊ป
.
การจะค้นหากฎเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้สารกระตุ้นเป็นเรื่องที่ไม่ยากนัก นั่นคือด้วยการสังเกตผลเสียที่มีต่อร่างกายของกีฬาเอง
.
จากรายชื่อโรคซึ่งเกิดจากการใช้สารกระตุ้นที่นำมากล่าวข้างต้น และจากสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวถึงเกี่ยวกับขอบเขตของอันตรายที่เกิดจากการใช้ยาเหล่านี้ทั้งในระยะสั้นหรือระยะยาว สามารถกล่าวได้อย่างชัดเจนว่าไม่อนุญาตให้มุสลิมใช้สารกระตุ้น อันเนื่องมาจากผลเสียของมันอาจนำไปสู่ความตาย อัลลอฮฺทรงกล่าวไว้ในอัลกุรอานมีใจความว่า " 
.
“และจงอย่าฆ่าตัวของพวกเจ้าเอง แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเมตตาต่อพวกเจ้าเสมอ” [อันนิสาอฺ 4:29] 
.
“จงอย่าโยนตัวของพวกเจ้าสู่ความพินาศและจงทำดีเถิด แท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงชอบผู้กระทำดีทั้งหลาย” [อัลบะเกะเราะฮ์ 2:195]
.
อีกทั้งท่านนบี(ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม)ได้กล่าวว่า "อย่าทำอันตรายตนเอง และอย่าทำอันตรายระหว่างกัน" รายงานโดยอิบนุมาญะฮ์
.
อิสลามห้ามไม่ให้มุสลิมทำสิ่งอันตรายจนทำให้ตนเองเสียชีวิตหรือฆ่าตัวตาย และยังห้ามทำอันตรายต่อตนเองไม่ว่าด้วยวิธีการใดก็ตาม 
.
คำตอบนี้นำมาจากวิทยานิพนธ์ปริญญาโทในหัวข้อ อันนะวาซิลฟิล อัชริบะฮ์(ประเด็นว่าด้วยการดื่ม) หน้า 229-234 โดยชัยค์ เซน อัลอะบิดีน บุตรของอิบนุอัซวีน โดยมี ชัยค์สะอด์ อิบนุตุรกีย์ อัลกัษลานเป็นที่ปรึกษา 
.
อัลลลอฮ์ทรงรู้ดียิ่ง 
.
………………………………………
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ. สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้