องค์กรอิสลามของอินโดนีเซียมีความเห็นว่า วัคซีนต้าน Covid-19 จาก Sinovac ของจีน นั้น

172 จำนวนผู้เข้าชม  | 

องค์กรอิสลามของอินโดนีเซียมีความเห็นว่า วัคซีนต้าน Covid-19 จาก Sinovac ของจีน นั้น

องค์กรอิสลามของอินโดนีเซียมีความเห็นว่า วัคซีนต้าน Covid-19 จาก Sinovac ของจีน นั้น
'ฮาลาลและถูกต้องตามหลักการศาสนา'
………………….
จาการ์ตา – สภาอุลามะอฺซึ่งเป็นองค์กรศาสนาสูงสุดของอินโดนีเซีย (MUI) มีความเห็นว่า วัคซีนต้านโควิด-19 ของบริษัท Sinovac จากประเทศจีน ได้รับอนุญาตให้ใช้ภายใต้กฎหมายอิสลาม (ฮาลาล) ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้รัฐบาลเตรียมเริ่มโครงการฉีดวัคซีนจำนวนมากในสัปดาห์หน้า
.
สภาอุลามะอฺหรือที่รู้จักกันในชื่อว่า MUI ประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังจากที่ได้มีการประชุมของคณะกรรมการรับรองฮาลาลว่า วัคซีนที่พัฒนาโดยบริษัท Sinovac Biotech ของจีนนั้น “ฮาลาล” การตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นในวันเดียวกับประเทศหมู่เกาะแห่งนี้มีผู้ติดเชื้อโควิด -19 เพิ่มขึ้นในแต่ละวันสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และอาจพิสูจน์ก้าวสำคัญของประเทศที่ผู้ปฏิเสธวัคซีนในอดีต พยายามกระทุ้งเรื่องวัคซีนในความเกี่ยวพันกับสุกรอยู่บ่อยครั้ง
.
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา อินโดนีเซียได้รายงานผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 10,617 ราย โดยมียอดผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันแล้วรวม 808,340 ราย นี่เป็นครั้งแรกที่มีการรายงานว่า ประเทศนี้มีการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยมากกว่าหลัก 10,000 คนต่อวัน และมีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม 233 คน รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 23,753 คน
.
อินโดนีเซียได้รับการจัดสรรวัคซีนจำนวน 3 ล้านโดส จาก Sinovac และวันพุธจะมีการกระจายปริมาณ 1.2 ล้านโดสไปยัง 34 จังหวัด รัฐบาลกำลังวางแผนที่จะเริ่มโครงการฉีดวัคซีนจำนวนมากในวันพุธหน้า โดยเริ่มจากประธานาธิบดีโจโกวิโดโด และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวน 1.3 ล้านคน
.
การรับวัคซีนของประเทศนี้ต่างจากประเทศอื่นที่ส่วนใหญ่เริ่มฉีดวัคซีนกับกลุ่มประชากรผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็นอันดับแรก แต่อินโดนีเซียให้ความสำคัญกับประชากรวัยทำงานหรือกลุ่มอายุ 18 ถึง 59 ปี ซึ่งประธานาธิบดีอายุ 59 ปี ในขณะเดียวกันรองประธานาธิบดีมารูฟ อามิน ซึ่งมีอายุ 77 ปี จะไม่ได้รับการฉีดวัคซีนในตอนนี้ตามที่โฆษกของเขาเปิดเผย
.
หน่วยงานด้านอาหารและยา (อย.) ของประเทศ ยังคงต้องอนุมัติการใช้ยาในกรณีฉุกเฉินเพื่อให้โครงการฉีดวัคซีนได้เริ่ม โดยกระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าหมายในการฉีดวัคซีน 181 ล้านคน จาก 270 ล้านคนในอินโดนีเซียภายใน 12 เดือนเพื่อให้ประชาชนมีภูมิคุ้มกันหมู่
.
องค์กรศาสนาอิสลาม กล่าวว่า จะยังไม่สามารถออกฟัตวาขั้นสุดท้ายซึ่งเป็นคำตัดสินทางศาสนา เนื่องจากยังเกี่ยวเนื่องกับประเด็นทางความปลอดภัย คุณภาพ และประสิทธิภาพที่จะต้องได้รับการตรวจสอบโดยหน่วยงานทางด้านอาหารและยาต่อไป
.
นอกจากนี้ MUI จะต้องตัดสินใจว่าจะให้สถานะฮาลาลแก่วัคซีนอื่น ๆที่ไม่ใช่ของ Sinovac หรือไม่ หากวัคซีนอื่นนั้นมาถึงในประเทศ
.
จนถึงขณะนี้อินโดนีเซียสามารถดิวสัญญาการจัดหาวัคซีน COVID-19 ได้แล้วถึง 229 ล้านโดส ที่มาจาก Sinovac, Novavax และ โครงการวัคซีนระดับโลก COVAX และอยู่ระหว่างการเจรจาอีก 50 ล้านโดสจาก AstraZeneca และ Pfizer
.
ในขณะที่ Sinovac ได้ให้ความมั่นใจกับทาง Bio Farma ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาของอินโดนีเซีย มีหน้าที่รับในการแจกจ่ายยา ซึ่งได้อธิบายวัคซีนของพวกเขาว่าไม่มีส่วนประกอบที่มาจากสุกร จากการตัดสินใจของ MUI จะสร้างความมั่นใจให้กับชาวมุสลิมในอินโดนีเซียว่า การยอมรับวัคซีนไม่ได้กระทบกับความศรัทธาของพวกเขา และทำให้รัฐบาลดำเนินการโครงการฉีดวัคซีนได้ง่ายขึ้น
.
อินโดนีเซียมีจำนวนประชากรมุสลิมมากที่สุดในโลก ซึ่ง 90% จากประชากร 270 ล้านคนนับถือศาสนาอิสลาม
.
ที่ผ่านมาเคยมีคำถามว่า การฉีดวัคซีนเป็นหลักคำสอนของศาสนาอิสลามหรือไม่? เคยเป็นที่มาของการถกเถียงกันในอดีตจนมาถึงในปี 2018 เมื่อองค์กรศาสนาอิสลามท้องถิ่นในหมู่เกาะเรียว ขอให้หน่วยงานด้านสุขภาพในท้องถิ่นเลื่อนโครงการฉีดวัคซีนโรคหัดและหัดเยอรมันแห่งชาติออกไปก่อน โดยขอให้รอการรับรองฮาลาล
.
ความกังวลดังกล่าวในหมู่ประชากรมุสลิมได้แพร่กระจายออกไป ทำให้อัตราการฉีดวัคซีนต่ำในบางพื้นที่ของประเทศ จากนั้น MUI ก็ได้ออกฟัตวา ที่ได้สื่อสารออกมาว่า ถือได้ว่าวัคซีนหัดและหัดเยอรมัน (MR vaccines) ที่ใช้ในโครงการนั้น หะรอมหรือต้องห้าม เนื่องจากมีส่วนประกอบของสุกร แต่อนุญาตให้ใช้เนื่องมาจาก จนถึงขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนหัด-หัดเยอรมันที่ฮาลาล
.
ตามรายงานท้องถิ่นในเวลานั้น อัตราการฉีดวัคซีนหัดและหัดเยอรมันนอกเกาะชวา ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ของอินโดนีเซียอยู่บนเกาะมากที่สุด มีอัตราการฉีดวัคซีนประมาณ 66% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายการครอบคลุมที่ 95% ในขณะที่อาเจะห์ซึ่งเป็นจังหวัดที่ดำเนินการตามกฎหมายชารีอะห์ อัตราการฉีดวัคซีนมีอยู่เพียง 8%
.
ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ซึ่งมีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ผู้อำนวยการใหญ่ด้านสุขภาพของประเทศกล่าวก่อนหน้านี้ว่า ไม่จำเป็นที่วัคซีน COVID-19 จะต้องได้รับการรับรองฮาลาล แต่จะดีกว่าหากผู้ผลิตทำเช่นนั้น
……………………….
ฝ่ายบริการวิชาการ ศวฮ.สำนักงานปัตตานี แปลและเรียบเรียง
ที่มา : Indonesia's Islamic body deems Sinovac vaccine 'holy and halal' - Nikkei Asia

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้